YMID ศูนย์รวมของสถาบันด้านสุขภาพที่จะมาขับเคลื่อนวงการการแพทย์ การทำงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพที่มีคุณภาพ

วันที่ 29 กันยายน 2563

YMID ศูนย์รวมของสถาบันด้านสุขภาพที่จะมาขับเคลื่อนวงการการแพทย์

การทำงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพที่มีคุณภาพ ต้องอาศัยความร่วมมือของสถาบันทางการแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถ พร้อมกับมีศักยภาพมากพอที่จะทำงานร่วมกันได้ ซึ่ง ย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี (YMID) ถือเป็นโครงการหนึ่งที่ได้เน้นยำ้ ให้เราเห็นถึงความสำคัญของเรื่องนี้ โดยการเชื่อมต่อสถาบันด้านสุขภาพที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ให้เป็นหนึ่งชุมชน เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันในการพัฒนาความรู้และนวัตกรรมทางด้านสุขภาพใหม่ๆ ขึ้นมา
 

เราได้มีโอกาสพูดคุยกับ นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ประธานคณะกรรมการพัฒนาและขับเคลื่อนย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี (YMID) ที่ได้อธิบายถึงที่มาของโครงการ YMID ให้เราฟังอีกทั้ง ได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการทำงานร่วมกันระหว่างสถาบันต่างๆ ที่อยู่ในย่าน

YMID เครือข่ายของสถาบันที่มีศักยภาพในการพัฒนาด้านสุขภาพ
 

จุดเริ่มต้นของโครงการย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี (YMID) เกิดจาก ผู้ริเริ่มโครงการมองเห็นว่าพื้นที่ในบริเวณโดยรอบถนนโยธี ประกอบด้วย ถน นราชวิถี ถนนศรีอยุธยา ถนนพระราม 6 รวมถึง ถนนพญาไท เป็นแหล่งที่มีการกระจุกตัวของสถาบันด้านสุขภาพที่มีศักยภาพสูง จำนวนมาก และมีทุนทางปั ญญาด้านการวิจัย วิทยาศาสตร์สุขภาพสูงที่สุดแห่งหนึ่งของไทย 

ซึ่งถ้าหากสถาบันที่อยู่ในพื้นที่เหล่านี้สามารถทำงานร่วมกันได้ แทนที่จะต่างคนต่างทำงาน พวกเขาจะมีขีดความสามารถในการทำงานวิจัยที่ไม่จำกัด จึงเกิดเป็น โครงการย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี(YMID) ขึ้นมา เพื่อส่งเสริมเรื่องนี้ โดยการสร้างชุมชนที่เชื่อมต่อสถาบันต่างๆ ให้เป็นเครือข่ายเดียวกัน
 

YMID เป็นโครงการที่ทำให้สถาบันด้านสุขภาพต่างๆ ที่อยู่ในย่าน ทำงานร่วมกันมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการวิจัยในเรื่องที่มีสเกลใหญ่กว่างานวิจัยที่แต่ละสถาบันต่างคนต่างทำกันเอง อย่างเมื่อไม่นานมานี้มีโครงการที่สมาชิกใน YMID (อาทิ โรงพยาบาลรามาธิบดี) ร่วมมือกับองค์การเภสัชกรรมและภาคเอกชน เก็บรวบรวมขวดพลาสติก PET สำหรับนำมาผลิตเป็นชุด PPE ระดับ 3 (ซึ่งเป็นเกรดที่ดีที่สุด) มีการผลิตออกมาจำนวน 500 จุด และนำไปแจกจ่ายให้กับโรงพยาบาลต่างๆ ที่ต้องการ ซึ่ง ถือเป็นการระดมทุนทางสังคมและทุนทางปัญญา สร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ
 

วัตถุประสงค์หลักของ YMID คือการสร้างความไว้วางใจ (Trust) ในหมู่สมาชิกของย่าน โดยโครงการจะทำหน้าที่เป็นกลไกที่ทำให้คนได้มาพบปะพูดคุยกัน สร้างปฏิสัมพันธ์กัน เรื่องเหล่านี้ต้องใช้เวลา เพราะความไว้วางใจอาจใช้เวลาสร้างกันเป็นปี แต่เมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว จะคุ้มค่าแน่นอนเพราะจะทำให้การทำงานร่วมกันไม่มีการตัง้ คำถามมาก และต่างคนต่างทำงานด้วยความรู้สึกเหมือนเป็นเพื่อนกัน เป็นพวกเดียวกัน 
 

แต่ต้องย้ำอีกครั้งว่า YMID ไม่ได้แค่ทำให้เกิดการร่วมมือกันทำงานธรรมดา แต่พื้นที่ที่อยู่ในสังกัดYMID มีทุนทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพสูงที่สุดอยู่แล้ว ถึงต้องมีการระดมพลังกันเกิดขึ้น ไม่ใช่ว่าจะระดมพลใครก็ได้ อีกทัง้ ความหมายของ Medical ที่อยู่ในชื่อของโครงการไม่ได้แปลว่าการแพทย์อย่างเดียวเท่านั้น แต่รวมถึงเรื่องสุขภาพด้วย 
 

“ผมคิดว่าหลักการสำคัญของ YMID คือ ต้องไม่ถามว่า ทำแล้ววงการแพทย์และสาธารณสุขจะได้อะไร นั่นไม่ใช่คำถามที่จะควรจะถามในตอนต้น แต่คำถามที่ควรถามในตอนต้น คือ ทำอย่างไรที่จะใช้ทุนสังคม ทุนปัญญาทั้ง หมด ให้มันร่วมกันทำงานได้ ซึ่งต้องเริ่มต้นด้วยการสร้างชุมชนที่ไว้เนื้อเชื่อใจกัน” นพ.สุวิทย์ กล่าว
 

และอีกหนึ่งภารกิจสำคัญของ YMID คือ การทำให้คนในย่านรู้สึกว่าตัวเองเป็นเจ้าของผลงานร่วมกันอย่าง การสร้างระบบกลางในการพิจารณาเรื่องหลักจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในมนุษย์ที่ทุกคนในย่าน ซึ่งเมื่อทุกคนรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน ทุกคนก็สามารถใช้งานร่วมกันได้โดยไม่มีการตั้งคำถาม 

YMID กับนวัตกรรมทางสังคม ( social innovation )
 

แม้นวัตกรรมด้านสุขภาพ (รวมถึงการแพทย์) จะช่วยให้การรักษาพยาบาลมีประสิทธิภาพ และมีความสะดวกสบาย มากยิ่งขึ้น แต่มันก็ทำให้เรามีต้นทุนที่เพิ่มมากขึ้นตามมาเช่นกัน อย่างบาง

เทคโนโลยีนำมาซึ่งผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย เช่น CT scan หรือ MRI เพราะฉะนั ้นจึงต้องเลือกใช้ให้คุ้มค่าและสมเหตุสมผลมากที่สุด
 

แต่นวัตกรรมที่สำคัญยิ่งกว่า คือ นวัตกรรมทางสังคม (social innovation) หรือ นวัตกรรมที่เปลี่ยนความคิดของคน ซึ่งสถาบันที่เป็นสมาชิกของ YMID ต่างก็มีความเป็นตัวของตัวเอง ดังนั้นหน้าที่ของเรา คือ จะทำยังไงให้พวกเขาคิดว่า ถ้าต่างคนต่างอยู่จะทำงานอะไรไม่ได้มากเท่ากับทำงานร่วมกับคนอื่น ตอนแรกเริ่มคนก็คิดว่า YMID จะมาผลิตผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆ เราก็

ค่อยๆ พูดให้คนเข้าใจ
 

ไทยแลนด์ 4.0 โดยทั่วไป อาจหมายถึง การเปลี่ยนจากประเทศอุตสาหกรรมหนักเป็นอุตสาหกรรมไฮเทค แต่สำหรับผม ไทยแลนด์ 4.0 คือ การเปลี่ยนวิธีคิดของสังคมไทยสู่สังคมที่เคารพสิทธิเสรีภาพ ภราดรภาพ ไม่มีการกดขี่กัน
 

ถ้าทุกคนใน YMID รู้สึกว่าตัวเองมีสิทธิเสรีภาพ ไม่มีใครมีอำนาจเหนือใคร ทุกคนก็จะร่วมมือกันทำงานได้อย่างสันติสุข และพอ YMID เป็นพื้นที่ที่มีทุนทางปั ญญาทางด้านการวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพสูง ในไม่ช้า นวัตกรรมเทคโนโลยีทางด้านวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ ก็จะเกิดขึ้นมาเอง ซึ่งตอนนี้เราเริ่มเห็นแล้ว เช่น ศูนย์พัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ (Mind Center) หรือ การผลิตชุด PPE ที่มีคุณภาพสูง รวมถึง เทคโนโลยีสารสนเทศ ( IT) และปั ญญาประดิษฐ์ (AI)สุดท้าย นพ.สุวิทย์ ได้ฝากถึงนักวิจัยรุ่นใหม่ว่า ควรทำงานวิจัยเพื่อประโยชน์สาธารณะเป็นอันดับหนึ่ง หรือ ควรวิจัยในเรื่องที่เป็นปั ญหาทางสังคม และเอาเรื่องประโยชน์ของตัวเองเป็นรอง
 

YMID จะเป็นพื้นที่หนึ่งที่ดึงดูดและสนับสนุนเหล่านักวิจัยหน้าใหม่ ให้สามารถเติบโตและประสบความสำเร็จในสายงานนี้ได้ อีกทั้ง เป็นพื้นที่ที่ทำให้พวกเขามีโอกาสได้ทำงานวิจัยร่วมกับสถาบันอื่นทำให้พวกเขาสามารถทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้